ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย
ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร
ในบริเวณที่มีภูเขา และที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น
รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขา ริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย
อันเป็นที่พำนักพิงของชาวทิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง
มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่ แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน
ชาวทิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญา
และจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่
และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวทิเบต
ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง
และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาติ
เขตปกครองตนเองทิเบต
หรือ ทิเบต เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต
มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน
คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย
เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก
และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ
ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน
และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย
พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ
ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด
จนได้รับฉายาว่า “แดนแห่งพระธรรม”
(land of dharma)
เมืองเอก :
ลาซา
ภาษา :
ทิเบต
สกุลเงิน :
เงินหยวน
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด 45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวทั้งสิ้น 3,800 กม.
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด 45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวทั้งสิ้น 3,800 กม.
เขตการปกครองตนเองทิเบตตั้งอยู่บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลังคาโลก” โดยมีความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ย 4,572
เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,200,000 ตารางกิโลเมตร
คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ 1 ใน 8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
พื้นที่ของทิเบตนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ พื้นที่ทางตอนเหนือ
ซึ่งประกอบไปด้วยภูเขาอาร์เอ๋อไท่ ภูเขาถางกู่ลา ที่ราบแอ่งกะทะจุ่นก๋าเอ๋อ
และทะเลทรายกู่เอ๋อปานทงกู่เท่อ และภูเขาเฟิงตี่ซี
โดยพื้นที่ทางตอนเหนือดังกล่าวนั้นคิดเป็นพื้นที่ถึงสองในสามของพื้นที่ทั้งหมด
ส่วนที่สองคือ พื้นที่แถบหุบเขาทางตอนใต้
ประกอบไปด้วยพื้นที่ระหว่างหุบเขาเฟิงตี่ซีและภูเขาหิมาลัย
และมีแม่น้าหยาหลู่จ้างปู้ไหลระหว่างกลาง
ซึ่งแม่น้าดังกล่าวเป็นแม่น้าที่มีความลึกที่สุดในโลก ทั้งนี้มีความลึกถึง 5,382
เมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้าทะเล 6,000
เมตรขึ้นไป พื้นที่ส่วนที่สามประกอบด้วยภูเขาและหุบเขาทางตะวันออก
เป็นลักษณะหุบเขาและภูเขาที่ลดหลั่นสลับกันไป
ในแนวนอนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกตามแนวเทือกเขาคุนหลุน
และพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกนั้นก็เป็นที่ตั้งของเทือกเขาหิมาลัย
และมียอดเขาเอเวอร์เรสซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก
โดยมีความสูงจากระดับน้าทะเล 8,848.13 เมตร
ตำนาน โบราณบอกว่า ดินแดนทิเบต(ที่เรียกในภาษาโบราณว่า ทูโบ)
อยู่ใต้พื้นทะเลมาก่อน ต่อมาผุดขึ้นเหนือน้ำทะเลปกคลุมด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า
กลายสภาพเป็น ทิเบตในปัจจุบัน ในพ.ศ. ๒๕๐๗ และ พ.ศ. ๒๕๐๙
มีการสำรวจทางธรณีวิทยาบนเทือกเขาซิสสาปังมา และตูลัง บริเวณเทือกเขาหิมาลัย
พบซากสัตว์จำพวกปลาทะเล ความยาวของลำตัว ๓๓ ฟุต ซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลลึก ประมาณ
๑๘๐ล้านปีมาแล้ว นักธรณีวิทยาตั้งชื่าอว่า อิคธีโอเสาร์ส ใน พ.ศ. ๒๕๑๙
มีการสำรวจพบซาก ไดโนเสาร์ ใกล้เชิงเขาทามาละ เขตเมืองแซมโด
สันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่มาประมาณ ๓๐ – ๗๐ ล้านปีมาแล้ว ที่ราบสูงทิเบตจัดว่าสูงที่สุดในโลก
ทิเบตเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ เช่นแม่น้ำพรหมบุตร (ยาร์ลุงซังโป)แม่น้ำแยงซี(จิงเจียง) แม่น้ำโขง (ลันคังเจียง) แม่น้ำสาละวิน (นูเจียง) และมีทะเลสาบ ๔แห่ง คือ
๑) นัมโซะ
๒) ยัมดร๊อกโซะ
๓) ซิลลิงโซะ
๔) มาปัง
ทิเบตเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ เช่นแม่น้ำพรหมบุตร (ยาร์ลุงซังโป)แม่น้ำแยงซี(จิงเจียง) แม่น้ำโขง (ลันคังเจียง) แม่น้ำสาละวิน (นูเจียง) และมีทะเลสาบ ๔แห่ง คือ
๑) นัมโซะ
๒) ยัมดร๊อกโซะ
๓) ซิลลิงโซะ
๔) มาปัง
ทิเบตมีแม่น้ำสายหลักคือ
แม่น้ำหยาหลู่จั้งปู้เจียง ซึ่งไหลผ่านหุบเขาใหญ่หยาหลู่จ้างปู้เจียง
ที่มีความลึกเป็นที่สุดของโลก คือ 5,382 เมตร
·
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
เขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ (ประเทศจีน)
·
ทิศใต้ ติดต่อกับ
ประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน มณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) รัฐกะฉิ่น (ประเทศพม่า) รัฐอัสสัม
รัฐนาคาแลนด์ (ประเทศอินเดีย) ในปัจจุบัน บริเวณที่มีเขตติดต่อกับประเทศอินเดียนี้
ยังเป็นบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่างจีนและอินเดีย ซึ่งอินเดียได้อ้างกรรมสิทธิ์เข้ามาปกครอง
และเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า อรุณาจัลประเทศ
·
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
มณฑลเสฉวน (ประเทศจีน)
·
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
รัฐชัมมูและแคชเมียร์ (ประเทศอินเดีย) และประเทศปากีสถาน
ภูมิอากาศ
เขตที่ราบสูงทางตอนเหนือของทิเบตมีภูมิอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ย -20 ถึง 10 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา ความชื้นในอากาศตลอดปีต่ำกว่า 200 มิลลิเมตร ส่วนเทือกเขาทางตอนใต้และตะวันออกของทิเบตมีอากาศอบอุ่นชื้น เช่นเมืองลาซา หลินจือ ชาอวี๋ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิ -2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนจะอยู่ที่ 15 – 22 องศา ความชื้นในอากาศประมาณ 438- 1,000 มิลลิเมตร
เขตที่ราบสูงทางตอนเหนือของทิเบตมีภูมิอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ย -20 ถึง 10 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา ความชื้นในอากาศตลอดปีต่ำกว่า 200 มิลลิเมตร ส่วนเทือกเขาทางตอนใต้และตะวันออกของทิเบตมีอากาศอบอุ่นชื้น เช่นเมืองลาซา หลินจือ ชาอวี๋ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิ -2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูร้อนจะอยู่ที่ 15 – 22 องศา ความชื้นในอากาศประมาณ 438- 1,000 มิลลิเมตร
เงินตรา
ควรแลกเงินหยวน จากประเทศไทยไปให้เรียบร้อย อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน : 5.20 บาท (ค่าครองชีพในจีน ตัวอย่าง น้ำเปล่า 1 ขวด 2Y/ มาม่าคัพ 3Y)
ควรแลกเงินหยวน จากประเทศไทยไปให้เรียบร้อย อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน : 5.20 บาท (ค่าครองชีพในจีน ตัวอย่าง น้ำเปล่า 1 ขวด 2Y/ มาม่าคัพ 3Y)
ไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าใช้ 220 V และ รูปแบบปลั๊กเช่นเดียวกับเมืองไทย
ระบบไฟฟ้าใช้ 220 V และ รูปแบบปลั๊กเช่นเดียวกับเมืองไทย
เวลา
ทิเบตเวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง อันนี้น่าแปลกแต่จริง เพราะทิเบตอยู่ทางตะวันตกของไทยควรช้ากว่าประเทศไทย แต่ใช้เวลาเร็วกว่าแสดงว่าน่าจะใช้เวลาเดียวกับจีนซึ่งเร็วกว่าไทย 1 ชม.
ทิเบตเวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง อันนี้น่าแปลกแต่จริง เพราะทิเบตอยู่ทางตะวันตกของไทยควรช้ากว่าประเทศไทย แต่ใช้เวลาเร็วกว่าแสดงว่าน่าจะใช้เวลาเดียวกับจีนซึ่งเร็วกว่าไทย 1 ชม.
ศาสนา
ดินแดนทิเบต มีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามากในอดีต พุทธศาสนาในทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกาย มหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
ดินแดนทิเบต มีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามากในอดีต พุทธศาสนาในทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกาย มหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
พุทธศาสนาในทิเบตเป็นแบบมหายานเน้นทางวัชรยานและตันตระ
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ภิกษุถือปาติโมกข์ ตามนิกายมูลสรวาสติวาท
มีสิกขาบท 253 ข้อ
มีความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าต่างจากนิกายเถรวาทคือ นับถือพระธยานิพุทธะ 5
พระองค์ ได้แก่ พระไวโรจนะพุทธะ พระอักโษภยะพุทธะ พระอมิตาภะพุทธะ
พระอโมฆสิทธิพุทธะ และพระรัตนสัมภวะพุทธะ นอกจากนี้ยังนับถือพระโพธิสัตว์อีกหลายพระองค์
เช่น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระชายาคือพระนางตารา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
และพระวัชรปาณิโพธิสัตว์ เป็นต้น
ลักษณะเด่นอื่นๆของพุทธศาสนาในทิเบตได้แก่
ลามะ ตรรกวิภาษ และการปฏิบัติแบบตันตระ
คำว่าลามะหมายถึงอาจารย์
ในการปฏิบัติธรรมในทิเบต ให้ความสำคัญกับอาจารย์มาก
โดยความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์
มีผลต่อความสำเร็จของศิษย์ในการปฏิบัติตามสายตันตระ
โดยถือว่าลามะเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ โดยเมื่อกล่าวสรณคมน์
ศิษย์จะระลึกถึงลามะเป็นที่พึ่งด้วย
การขอวีซ่า
สถานที่ที่จะทำวีซ่าจะอยู่ที่ AA Building (ชั้น 2) ข้าง ๆ สถานฑูตจีน ถนนรัชดาภิเษก (ฝั่งเดียวกับตึกฟอร์จูน) เวลาทำการของการขอวีซ่าคือ 9.00 – 11.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
สถานที่ที่จะทำวีซ่าจะอยู่ที่ AA Building (ชั้น 2) ข้าง ๆ สถานฑูตจีน ถนนรัชดาภิเษก (ฝั่งเดียวกับตึกฟอร์จูน) เวลาทำการของการขอวีซ่าคือ 9.00 – 11.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
สามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดินจะสะดวกที่สุด
โดยไปลงที่สถานีพระราม 9 ซึ่งให้เดินไปทางออกที่จะไปฟอร์จูนทาวเวอร์
แล้วเดินต่อขึ้นไปทางด้านตึกทรู (แต่ยังฝั่งเดียวกับตึกฟอร์จูน) เมื่อเห็นสะพานลอย
ให้มองทางด้านซ้าย ซึ่งคือตึก AA ต่อไปก็เดินเลี้ยวซ้ายเข้าซอยจะเห็นทางเข้าอยู่ข้าง
ๆ ตึก ต่อจากนั้นก็กดลิฟท์ไปชั้นสอง หรือจะขึ้นบรรไดก็แล้วแต่
ก็จะเห็นสถานที่รับทำวีซ่า
เอกสารประกอบการขอวีซ่า
1.
พาสปอร์ต
(มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน)
2.
รูปถ่าย
1 นิ้ว (หรือ 2 นิ้ว)
จำนวน 1 รูป อันนี้หนึ่งนิ้วจะพอดีกับช่องที่เค้ามีให้
แต่สองนิ้วก็ได้ไม่ว่ากัน
3.
แบบฟอร์ม
(ซึ่งก็ไปกรอกที่นั่น) หรือสามารถ download
ได้ที่เว็บไซท์ของสถานทูตจีน
ประเภทของวีซ่าและอัตราค่าธรรมเนียม
·
Single Entry เป็นวีซ่าที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
(แหะ) ใช้เดินทางเข้าประเทศจีนได้แค่ครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 3 เดือนนับจากวันที่ทำวีซ่า โดยจะอยู่ได้นานถึง 30 วัน
แบบเร่งด่วน 1 วัน = 2,200 บาท / 2-3
วัน = 1,800 บาท / 4 วัน
= 1,000 บาท
·
Double Entry แบบนี้จะเข้าได้แค่สองครั้งภายในครึ่งปี
แบบเร่งด่วน 1 วัน = 3,200 บาท / 2-3
วัน = 2,800 บาท / 4 วันเป็นปกติ
= 2,000 บาท
·
Multiple Entry (ระยะครึ่งปี) แบบนี้จะเข้ากี่ครั้งก็ได้ภายในครึ่งปี แบบเร่งด่วน 1 วัน = 4,200 บาท / 2-3 วัน = 3,800
บาท / 4 วันเป็นปกติ = 3,000 บาท
·
Multiple Entry (ระยะหนึ่งปี) แบบนี้จะเข้ากี่ครั้งก็ได้ภายในหนึ่งปี แบบเร่งด่วน 1 วัน = 5,700 บาท / 2-3 วัน = 5,300
บาท / 4 วันเป็นปกติ = 4,500 บาท
การเดินทาง
-โดยเครื่องบิน
การเดินทางไปทิเบตมีสองทางคือจากเนปาลโดยบินจากกัฏมัณฑุไปยังเมืองลาซา และบินผ่านเทือกเขาหิมาลัย บางวันทัศนวิสัยไม่ดีสายการบินอาจยกเลิกได้
การเดินทางไปทิเบตมีสองทางคือจากเนปาลโดยบินจากกัฏมัณฑุไปยังเมืองลาซา และบินผ่านเทือกเขาหิมาลัย บางวันทัศนวิสัยไม่ดีสายการบินอาจยกเลิกได้
อีกเส้นทางหนึ่งคือบินจากเมืองเฉินตูของมลฑลเสฉวนตรงไปยังเมืองลาซา
ซึ่งไม่ค่อยมีการยกเลิกเที่ยวบิน
โดยรถไฟ
ทางรถไฟชิงไห่ – ทิเบต มีข้อดีอยู่ ๓ อย่าง คือ
ทางรถไฟชิงไห่ – ทิเบต มีข้อดีอยู่ ๓ อย่าง คือ
1.
ราคาถูกกว่าไปเครื่องบินประมาณ
๒๐๐๐ หยวน
2.
การปรับตัวให้เข้ากับความดันอากาศต่ำในที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต
ของนักท่องเที่ยวจะมีกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป จึงดีกว่าไปทางเครื่องบิน
ซึ่งผู้โดยสารมักจะมีอาการแพ้ความดันอากาศต่ำอย่างรุนแรง
3.
ระหว่างทางจากเมือง
ซีหนิงไปเมืองลาสา มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามมาก
ถ้าไปเที่ยวทิเบตโดยเครื่องบินก็จะไม่มีโอกาสชมทิวทัศน์ธรรมชาติอันสวยงาม เหล่านี้
มหัศจรรย์แห่ง ทิเบต
1. ความลึกลับ
แห่ง เยติ
เยติ คือ ชื่อภาษาทิเบตของมนุษย์หิมะ เป็นสัตว์สองเท้า
มีขนคล้ายลิง อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาลและทิเบต เยติ เป็นสัตว์ที่มีความว่องไว
คณะผู้เดินทางหลายกลุ่มมีการวางแผนพยายามติดตามเหล่าเยติ แต่ก็ไม่เคยมีใครทำสำเร็จ จะพบก็แต่เพียงรอยเท้า
และร่องรอยบางอย่างซึ่งสงสัยกันว่าน่าจะเป็นหนังศีรษะ อย่างไรก็ตาม
ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเหล่า เยติ ยังมีชีวิตอยู่ หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว คาดเดากันไปว่าสาเหตุที่ไม่พบ เยติ ที่เทือกเขาหิมาลัย อาจเพราะความสูง สภาพอากาศที่หนาวเหน็บ ปราศจากอาหารประทังชีวิต
จึงทำให้กลุ่ม เยติ ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น
2. ความลึกลับ
แห่ง Gterma
Gterma เป็นแบบแผนแห่ง ทิเบต ที่ถูกขุดค้นอีกครั้ง
หลังจากถูกซุกซ่อนโดยพระทิเบตเมื่อครั้งหมดศรัทธาในศาสนา Gterma ได้แก่ การอ่านหนังสือธรรมะ การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการใฝ่รู้ทางศาสนา
ซึ่งอย่างหลังเป็นสิ่งที่มีมนต์ขลังมากที่สุด เพราะนั่นหมายความถึงการมี Gterma ฝังลึกลงไปในจิตวิญญาณ เมื่อใดที่กายพร้อม ใจพร้อม
จะเป็นตัวกำหนดแรงบันดาลใจลึกลับ
แม้คนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็สามารถเขียนพระไตรปิฎกขึ้นได้อย่างอัศจรรย์
3. ความลึกลับ
แห่ง ชัมบาลา
ชัมบาลา (Shambhala) หรือ แชงกรีลา (Shangri-La) ในภาษาทิเบตหมายถึง ดินแดนอันบริสุทธิ์เป็นตำนานลึกลับของโลกแห่งพุทธศาสนาต้นกำเนิดของการสอนKalachakraในหนังสือประวัติศาสตร์ทิเบตได้มีการบันทึกเรื่องราวของชัมบาลาไว้มากมายแต่นักวิชาการทางพุทธศาสนาก็ยังตั้งข้อกังขาว่าแท้จริงแล้วชัมบาลานั้นมีอยู่จริงหรือเป็นเพียงแดนสวรรค์ในนิยาย
ถือเป็นความลี้ลับที่ยังไม่มีบทสรุป
4. ความลึกลับ
แห่ง ร่างสีรุ้ง
ร่างสีรุ้ง ถือเป็นปรากฏการณ์ลึกลับแห่งพุทธศาสนาใน ทิเบต เป็นความเชื่อต่อกันว่า พระทิเบตผู้ซึ่งบรรลุธรรมขั้นสูงสุด เมื่อหมดลมหายใจ ร่างกายจะกลายเป็นสีรุ้ง
สลายล่องลอยโดยไม่ต้องทำการฝังเหมือนศพทั่วไป
5. ความลึกลับ แห่ง
มหากาพย์ กษัตริย์ Gesar
เรื่องราวชีวิตของ กษัตริย์ Gesar เป็นที่รู้จักกันดีในมหากาพย์ผู้กล้าแห่ง ทิเบต และเป็นมหากาพย์แห่งชีวิตหนึ่งเดียวในโลกที่ใช้การถ่ายทอดกันปากต่อปากจากเหล่าศิลปินพื้นบ้าน
ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชีวิตที่อาศัยอยู่ใน ทิเบต มองโกเลีย และ จังหวัดชิงไห่ ทำหน้าที่สร้างเสียงเพลงเฉลิมฉลองความสำเร็จของกษัตริย์
Gesar ผู้กล้าหาญแห่งทิเบต หากศิลปินคนใดสามารถบอกต่อตำนานได้มากกว่าหนึ่งเรื่องราวจะถือว่าคนนั้นเป็น ศิลปินแห่งพระเจ้า ซึ่งหมายถึงเขาได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงจากคำของพระเจ้าและกษัตริย์
Gesar ในฝัน และจะขับขานเสียงเพลงออกมาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้
ใน ทิเบต วัยรุ่นที่ไม่รู้หนังสือสามารถบอกเล่ามหากาพย์นี้ได้มากกว่าหนึ่งล้านคำ
ถือเป็นเรื่องเหลือเชื่อ!
6. ความลึกลับ แห่ง
ราชอาณาจักร Shangshung
ราชอาณาจักรชางชุงโบราณ ได้ก่อเกิดอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งที่ราบสูง ทิเบต ไม่เพียงแต่มีภาษาชางชุง ภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แต่ยังเป็นจุดกำเนิดของศาสนาพุทธวัชรยาน
(พุทธทิเบต) อีกด้วย
ราชอาณาจักรชางชุงมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อวัฒนธรรมทั่วทิเบต อย่างไรก็ตาม
การสาบสูญอย่างลึกลับได้ทิ้งปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้ไว้มากมาย
7. ความลึกลับ แห่ง
ราชอาณาจักร Guge
ในช่วงกลางศตวรรษที่
9 ราชอาณาจักร Tubo ได้ล่มสลาย ชนรุ่นหลังจึงร่วมกันก่อตั้ง ราชอาณาจักร Guge และสร้างสรรค์อารยธรรมอันงดงามภายใน 700 ปี
ต่อมาในปี ค.ศ. 1630 Guge ถูกล้มล้างอำนาจโดยลาดัคห์
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ มีการฆ่าและการปล้นสะดมอย่างหนักในช่วงสงคราม
สุดท้ายร่องรอยอารยธรรม Guge ได้เลือนหายไปในพริบตา
ไร้ซึ่งเบาะแส ปัจจุบันราชอาณาจักร Guge ได้หลงเหลือซากปรักหักพังของสถาปัตยกรรมสุดมหัศจรรย์ ภาพวาดโบราณ และ ดวงตาสีเงิน ความลึกลับแห่ง Guge(Guge Silver Eye) ให้เราได้สัมผัส
8. ความลึกลับ แห่ง
หมอทิเบต
หมอทิเบต ในฐานะผู้บูชาศาสนาแต่แรกเริ่ม
เชื่อกันว่าสามารถติดต่อกับพระเจ้าและสามารถพูดคุยกับวิญญาณได้ มีอภินิหารในการรักษาโรค
นำวิญญาณที่ล่องลอยกลับสู่ร่าง
เยียวยาความเจ็บป่วยของจิตวิญญาณมนุษย์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในต่างประเทศ หมอทิเบต ทำหน้าที่หลากหลายในสังคม
เป็นทั้งหมอดู หมอรักษาโรค หมอพิธีกรรม ผู้แนะนำด้านจิตวิญญาณ สรุปง่ายๆ คล้ายๆ หมอผี เครื่องแต่งกาย เครื่องประกอบพิธีกรรม
เวทมนตร์คาถา แท่นบูชา การทำนายโชคชะตา ถือเป็นเอกลักษณ์อันเป็นที่จดจำของ หมอทิเบต
9. ความลึกลับ แห่ง
เมฆรูปธง บนยอดเขาเอเวอเรสต์
ยามที่สภาพอากาศเป็นใจ
เราสามารถมองเห็นเมฆรูปธงสีขาวบน ยอดเขาเอเวอเรสต์ ลมจากทิศตะวันตกจะพัดเมฆไปยังทิศตะวันออก
เกิดเป็นเมฆรูปธงอยู่บนยอดเขา กระแสลมที่พัดผ่านภูเขานั้นสามารถสร้างเมฆได้
หรือแม้กระทั่งการพัดเป่าหิมะก็สามารถก่อตัวเป็นเมฆได้
บางครั้งเหมือนธงกำลังโบกสะบัดอยู่บนยอดเขา บางครั้งเหมือนคลื่นยักษ์
ท้ายสุดจะแปรสภาพเป็นเส้นควันทอดยาวสง่างาม การเปลี่ยนแปลงของ เมฆรูปธงสามารถบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของกระแสลม จึงทำให้ เมฆรูปธง บนยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ กังหันที่สูงที่สุดในโลก
10. ความลึกลับ
แห่ง หิมะสีแดง
สภาพพื้นผิวของ เทือกเขาหิมาลัย เหนือระดับ 5,000 เมตร
จะระยิบระยับด้วยจุดสีแดงเลือด ซึ่งมองไกลๆ ให้ความรู้สึกเหมือนหิมะสีแดง
จุดสีแดงเหล่านี้เกิดจากสาหร่ายซึ่งมีสีแดง Chlamydomonas
nivalis, Chlorococcum infusionum, และสาหร่ายชนิดอื่นๆ
ซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วไปบนภูเขา โดยสามารถต้านความหนาวได้และเติบโตดีที่สุดในอุณหภูมิต่ำกว่า
10 องศาเซลเซียส เป็นที่มาของความลึกลับแห่ง หิมะสีแดง
เครดิต
เรื่อง
: earththaitravel.com,
travel.mthai.com
ภาพ
: อินเตอร์เน็ต